หลายคนช่วงนี้อาจจะกำลังค้นหาคำว่า User Experience (UX) คืออะไร ตำแหน่งนี้ต้องสนใจเรื่องไหนบ้าง เพื่อค้นหาสิ่งที่จะทำให้เราสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น สำหรับคำว่า User Experience (UX) สามารถขยายความได้ว่า เป็นเรื่องของการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน เพื่อให้ทางผู้ใช้งานสามารถใช้งานระบบ แอพ หรือบริการได้ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกว่าจะได้ผลลัพท์แบบนี้ก็ต้องมีกระบวนการหรือแนวคิดหัวข้อหลักๆที่ User Experience (UX) ต้องรู้และทำความเข้าใจก่อน คล้ายกับเวลาที่เรากำลังเตรียมเดินทางไปสถานที่ใดสักที่นึง เรารู้อยู่แล้วว่าต้องไปที่ไหน แต่จะไปยังไง ต้องเดินทางไปไหน เจอสถานที่ใดก่อนบ้าง ดังนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่า 19 เรื่องที่ User Experience (UX) ต้องรู้ก่อนเดินทางมีอะไรบ้าง
- Information Architecture
สิ่งนี้เราจะต้องรวบรวมข้อมูล เพื่อเตรียมออกแบบโครงสร้างข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน - Interaction Design
การออกแบบองค์ประกอบแบบโต้ตอบของผู้ใช้งาน เช่น ปุ่มและแบบฟอร์ม เพื่อให้มั่นใจว่างานง่ายและใช้งานได้จริง - Usability
ทำเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ใช้งานง่าย รู้ว่าต้องใช้งานอย่างไร มีประโยชน์เหมาะสมกับผู้ใช้งาน - Wireframing
การสร้างภาพโครงร่างออกมาเป็นกรอบและลายเส้น เป็นขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น เพื่อให้ง่ายและเร็วเพื่อดูภาพรวมของหน้าจอ - Prototyping
การทำต้นแบบ เพื่อให้ทดสอบ ทดลอง ลองรับ Feedback จากผู้ใช้งานก่อนที่จะเริ่มพัฒนาจริง - User Testing
รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ใช้จริงเพื่อปรับปรุงการออกแบบและการทำงานของผลิตภัณฑ์ - Accessibility
การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมและใช้งานได้โดยผู้ที่มีความสามารถและความพิการที่แตกต่างกัน - User Interface (UI) Design
การออกแบบรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ รวมถึงสี รูปแบบตัวอักษร และการจัดวาง - Visual Hierarchy
การจัดระเบียบองค์ประกอบบนหน้าจอในลักษณะที่นำความสนใจของผู้ใช้ไปยังองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดก่อน - Consistency
รักษารูปลักษณ์และความรู้สึกที่สอดคล้องกันทั่วทั้งผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกสบายและมั่นใจมากขึ้นขณะใช้งาน - Feedback
รับคำติชม เช่น การแจ้งเตือนหน้านี้ผู้ใช้งานเข้าใจหรือไม่ ปุ่มนี้เห็นชัดเจนหรือไม่ - User Flow
กำหนดเส้นทางการใช้งานของผู้ใช้งาน - User Persona
การสร้างภาพแทนผู้ใช้เป้าหมายเพื่อให้เข้าใจความต้องการ แรงจูงใจ และพฤติกรรมของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น - User Journey Mapping
บันทึกประสบการณ์ของผู้ใช้ผ่านผลิตภัณฑ์ ระบุจุดบกพร่องและโอกาสในการปรับปรุง - Responsive Design
ทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ทำงานได้ดีและดูดีบนอุปกรณ์และขนาดหน้าจอต่างๆ - Affordances
การออกแบบองค์ประกอบที่สื่อสารถึงหน้าที่และวิธีที่ควรใช้ ทำให้อินเทอร์เฟซใช้งานง่ายขึ้น - Cognitive Load
ลดความพยายามทางจิตใจที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ในการโต้ตอบกับผลิตภัณฑ์ ทำให้ใช้งานและเข้าใจได้ง่ายขึ้น - Design Patterns
วิธีแก้ปัญหาที่ใช้ซ้ำได้สำหรับปัญหา UX ทั่วไปที่สามารถช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการออกแบบและปรับปรุงการใช้งาน - สุดท้ายคือ ค้นหาข้อมูล ทดสอบ ทดลอง อัพเดตข้อมูลและแนวคิดใหม่ๆ ทำวนไปเรื่อยๆ แล้วเราจะเข้าใจผู้ใช้งานมากขึ้น
หัวข้อเหล่านี้จะช่วยให้ User Experience (UX) พอทำแล้วจะเข้าใจผู้ใช้งานมากขึ้น และเราก็จะได้เห็นปลายทางที่ชัดเจนมากขึ้น ว่าเรามีจุดมุ่งหมายเดียวคือทำให้ ระบบหรือแอพ เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งานและใช้งานได้สะดวกมีประสิทธิภาพ