ในยุคดิจิทัล ข้อมูลพนักงานถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า ซึ่งฝ่าย HR ต้องให้ความสำคัญ การรั่วไหลของข้อมูลอาจนำไปสู่ความเสียหายทั้งทางกฎหมายและชื่อเสียงขององค์กร การบริหารจัดการข้อมูลพนักงานอย่างปลอดภัย จะสามารถปกป้องข้อมูลจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การแฮ็กข้อมูล หรือการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยมาตรการที่เหมาะสม วิธีป้องกันข้อมูลพนักงานจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลพนักงานเพื่อปกป้องข้อมูลพนักงานจากการโจมตีทางไซเบอร์ บริษัทควรติดตั้งและบำรุงรักษา ระบบรักษาความปลอดภัยทาง IT อย่างสม่ำเสมอ เช่น ใช้ไฟร์วอลล์, ระบบป้องกันมัลแวร์, เข้ารหัสข้อมูล, ระบบ IDPSจัดการสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของพนักงานในแต่ละระดับข้อมูลพนักงานควรถูกเข้าถึงเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ฝ่าย HR ควรใช้ แนวทางการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล (Access Control) ที่เข้มงวด สำรองข้อมูลและกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การโจมตีจากแรนซัมแวร์ หรือระบบล่ม อาจทำให้ข้อมูลพนักงานสูญหายหรือถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น บริษัทควรมี แผนสำรองข้อมูล…


ในยุคนี้ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) ไม่ได้ทำงานเพียงแค่สรรหาบุคลากรและบริหารทรัพยากรมนุษย์เท่านั้น แต่ยังต้องพึ่งพาระบบเทคโนโลยีที่หลากหลาย เช่น ระบบบริหารงานบุคคล (HRIS), ระบบเงินเดือน (Payroll), และแพลตฟอร์มการฝึกอบรมพนักงาน (LMS) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดภาระงานที่ซับซ้อนลง การจัดการระบบ HR เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อมีปัญหาหรือความต้องการอัปเดตและปรับแต่งระบบ ฝ่าย HR อาจต้องใช้เวลามากในการประสานงานกับแผนกไอทีในองค์กร หรืออาจไม่มีทีมไอทีที่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอ ทำให้เกิดความล่าช้าและกระทบต่อกระบวนการทำงานขององค์กรโดยรวม IT Remote Outsource ตัวช่วยสำคัญของฝ่าย HR ที่จะช่วยให้ฝ่าย HR สามารถจัดการระบบ HR Tech ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรไอทีในองค์กร ด้วยบริการที่ครบวงจร ได้แก่: ดูแลและบำรุงรักษาระบบ ติดตามและตรวจสอบสถานะของระบบ HR Tech อย่างต่อเนื่อง…

หลายคนอาจจะพบปัญหาการใช้งานระบบ Payroll สำหรับสำเร็จรูป ที่อาจจะใช้งานยาก ต้องใช้เวลาเรียนรู้ มีหลายขั้นตอนกว่าจะได้ผลลัพท์ บางองค์กรก็มีความซับซ้อนและไม่ตอบโจทย์ เสียค่าใช้จ่ายรายเดือนค่อนข้างสูง ปรับอะไรก็ไม่ได้ สำหรับคนที่ต้องการพัฒนาระบบใช้งานเอง เพื่อให้เข้ากับองค์กร "จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ในการพัฒนาไหม?" สมัยนี้ไม่ต้องครับ เพราะว่าการพัฒนาระบบขึ้นมา หลักสำคัญจะอยู่ที่ "เป้าหมาย" ของการพัฒนาระบบ ว่าต้องการความสามารถอะไรบ้าง เราเข้าใจเรื่องการป้อนข้อมูลเข้าหรือการนำข้อมูลออกในแต่ละส่วนงานหรือไม่ หากเราเข้าใจจริง เราก็จะมีทุนความรู้และความต้องการในการพัฒนาระบบแล้วครับ ยิ่งสมัยนี้มีเครื่องมือ No code ค่อนข้างเยอะ และสมัยนี้เราไม่ต้องพัฒนาเองก็ได้ จ้างพัฒนาเอาสะดวกกว่า แต่ก่อนเราต้องใช้ทุนสูงในการพัฒนาระบบ เดี๋ยวนี้เราสามารถแยกส่วนพัฒนาได้นะครับ เราอาจจะ Proof of Concept ก่อนได้ ด้วยการจ้าง UX/UI เข้ามาช่วยพัฒนาก่อนเบื้องต้น หลังจากนั้นก็มาดูเรื่องของ Database design…